วันอาทิตย์, 27 เมษายน 2568

เรือกระป๋อง

02 ก.ค. 2002
11

เรือกระป๋องเป็นได้มากกว่าที่คุณคิด เพียงเพิ่มกลไกอีกนิด+++

งบประมาณเพียง 80 บาท

สวัสดีครับชาว Hoppy Eletronics

ฉบับนี้เราจะหยิบรถกระป๋องที่เคยฮิตติดตลาดมาแล้วมาดัดแปลงให้เป็นเรือกระป๋องที่สามารถบังคับ
ได้เดินหน้าถอยหลังเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาตามคำสั่งผู้บังคับเพื่อนำมาดัดแปลงให้เกิดความแปลกใหม่ไม่
ซ้ำซากจำเจแถมยังทำให้ท่านผู้อ่านได้เรือบังคับราคาประหยัดจากฝีมือเราเองซึ่งสร้างความสนุกสนาน
ในการบังคับไม่แพ้ที่เคยเล่นรถกระป๋องเลยทีเดียวพร้อมแล้วเตรียมลงมือทำกันเลยดีกว่าครับ

โครงสร้างชิ้นส่วนเรือ

ในส่วนการทำเรือนั้นเราสามารถหาซื้อเรือสวยๆได้ตามร้านขายของเล่นซึ่งมีแบบให้เราเลือกมากมาย
เมื่อเราได้เรือมาแล้วก็จะต้องนำมาดัดแปลงโครงสร้างโดยเริ่มจากส่วนด้านบนของเรือก่อนเราจะต้องดู
ตำแหน่งว่าจะให้สายไฟผ่านตรงจุดใดจากนั้นเราจะทำการเจาะรูที่ส่วนบนของเรือดังรูปที่ 1และ 2

จากนั้นเมื่อเราได้ดัดแปลงโครงสร้างส่วนบนของเรือกระป๋องแล้วเรามาดูในส่วนของตัวเรือจาก
การที่เราได้ดูโครงสร้างภายในของเรือด้านล่างดังรูปที่3 แล้วเราจะต้องกำหนดตำแหน่งที่จะทำ
การวางชิ้นส่วนของกลไกเพื่อให้เรือกระป๋องสามารถเคลื่อนที่และแล่นได้ตามที่เราต้องการจะให้เป็นดังรูปที่ 4 เมื่อเราได้วางโครงสร้างและตำแหน่งของชิ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราก็จะมาลงมือดัดแปลงชิ้นส่วนต่าง ๆ กันได้เลยครับ จากรูปที่ 4 เราจะเห็นว่ามีชิ้นส่วนที่จะดัดแปลงอยู่สามส่วนคือ จุด A จุด B และจุด C เพื่อน ๆ เตรียมอุปกรณ์ดังรูปที่วางโครงสร้างไว้เรียบร้อยหรือยังครับ หากเตรียมไว้พร้อมแล้วเรามาเริ่มดัดแปลงโครงสร้างของชิ้นส่วนต่าง ๆ กันเลย

ในส่วนของชิ้นส่วน A ดังรูปที่ 5 เพื่อน ๆ ที่ชอบแกะชิ้นส่วนรถกระป๋องมาดูเล่นคงจะรู้สึกว่าคุ้น ๆ กับอุปกรณ์ส่วนนี้ว่าคล้ายกับส่วนบังคับการเลี้ยวล้อหน้าของรถกระป๋อง
      ถูกต้องแล้ว! ครับเราจะนำชิ้นส่วนนี้มาดัดแปลงเป็นส่วนที่จะใช้ในการบังคับหางเสือให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาได้ตามที่เราต้องการ เห็นมั๊ยละครับว่าชิ้นส่วนของรถกระป๋องนอกจากจะใช้บังคับให้รถวิ่งได้แล้ว ยังสามารถนำมาดัดแปลงให้เรือแล่นได้อีกด้วย

เพื่อน ๆ ดัดแปลงโครงสร้างชิ้นส่วน A เสร็จแล้วมาดู ในส่วนของชิ้นส่วน Bต่อกันเลยครับ ดังรูปที่ 6 เพื่อน ๆ คงจะสงสัยว่าแล้วชิ้นส่วนนี้ทำเพื่ออะไร และใช้วัสดุอะไรเป็นตัวทำ ง่าย ๆ เลยครับ เพียงแค่เพื่อน ๆ หาเศษลวดที่เหลือกใช้จากงานต่าง ๆ โดยมีขนาดยาวโดยประมาณ 15 เซนติเมตร มาดัดให้มีลักษณะดังรูปที่ 6 สาเหตุที่เราต้องทำชิ้นส่วนนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้เชื่อมโยงระหว่างส่วนบังคับการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวากับเฟืองที่ใช้บังคับหางเสือ

ส่วนที่ 3 คือส่วนจุดC เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะถือได้ว่าเป็นส่วนที่ต้องอาศัยฝีมือของแต่ละคน
ในการที่จะคืดว่าเราจะหาชิ้นส่วนใดมาทำให้เกิดการขับเคลื่อนในส่วนของหางเสือเพื่อให้เรือขยับเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้ดังใจเราดังรูปที่ 7 เพื่อน ๆ จะเห็นว่า เราจะใช้เฟืองธรรมดาที่ใช้ในการดัดแปลงรถกระป๋องมาทำให้เกิดประโยชน์ โดยเราจะตัดเฟืองออกเป็นสองส่วน โดยใช้เลื่อยฉลุตัด ให้สังเกตส่วนที่เราจะใช้คือส่วนที่มีช่องสำหรับเสียบแท่งเหล็ก จากนั้นเจาะรูเพื่อสำหรับเป็นที่เกี่ยวลวดกับตัวบังคับการเลี้ยว

ในส่วนของรูปที่ 7 เมื่อเราได้ในส่วนของเฟืองแล้ว เรามาดูส่วนอื่น ๆ ที่จะต้องใช้เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้หางเสือขยับได้เอง ได้แก่ ปลอกสายไฟ (ตัดจากสายไฟทั่ว ๆ ไป) ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นปลอกเท่านั้นสายไฟด้านในดึงออก ชิ้นส่วนนี้เราจะนำมาเป็นตัวปิดส่วนบนที่เสียบลงบนแท่งเหล็ก สำหรับกันไม่ให้เฟืองหลุด

ส่วนต่อมาคือ ลูกยางเทป (ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ทั่ว ๆ ไป) แต่จุดสำคัญอยู่ที่เราต้องหาไส้ไก่(หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับรถจักรยานทั่วไป) โดยจะสวมไส้ไก่ลงไปที่ลูกยางเทป เพื่อป้องกันน้ำเข้าเครื่องและช่วยในการบังคับหางเสือได้ง่ายขึ้น

ส่วนที่ใช้เชื่อมระหว่าเฟืองกับหางเสือคือ เราจะใช้แท่งเหล็กที่ใช้ในการดัดแปลงรถกระป๋องมาเป็นตัวเชื่อม โดยมีการใช้ไส้ไก่สวมไปที่ช่วงต่อระหว่างแท่งเหล็กกับหางเสือเพื่อป้องกันน้ำเข้าตัวเครื่อง

หลักการทำงาน

สำหรับหลักการทำงานของเรือกระป๋องจะมีส่วนเหมือนกับการทำงานของรถกระป๋อง เพราะเราได้นำส่วนของวงจรรถกระป๋องที่เล่นจนเบื่อแล้วมาทำให้เกิดความแปลกใหม่ โดยนำวงจรมาใส่ลงในเรือแทนเราก็จะสามารถบังคับการแล่นของเรือได้ ลักษณะการบังคับก็ใช้ลักษณะเดียวกับรถกระป๋องคือ กดที่สวิตซ์บังคับ จะให้เเรือเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เดินหน้า หรือถอยหลัง เรือก็จะทำงานตามคำสั่ง

ขั้นตอนการประกอบ

หากเราเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามแบบครบแล้ว ก็ถึงเวลาสร้างเรือด้วยฝีมือของเราได้เลยครับ

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจดูจุดที่จะเจาะรู เพื่อเป็นช่องที่ให้สายไฟผ่าน
ขั้นตอนที่ 2 ตัดส่วนของตัวที่ใช้บังคับเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาออกจากโครงรถกระป๋องแล้วนำติดบริเวณ
                 ที่ว่างตรงส่วนหัวเรือ โดยใช้กาวพลาสติกเป็นตัวเชื่อมติด
ขั้นตอนที่ 3 นำลวดมาดัดตามแบบเตรียมไว้สำหรับเป็นตัวเชื่อมการทำงานของส่วนบังคับเลี้ยวซ้าย                  เลี้ยวขวากับหางเสือ
ขั้นตอนที่ 4 เตรียมในส่วนเฟือง, ปลอกสายไฟ, ลูกยางเทป, ไส้ไก่, แท่งเหล็ก ตามแบบ
ขั้นตอนที่ 5 นำชิ้นส่วนที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 4 มาประกอบติดกับหางเสือ แล้วนำลวดที่ดัดไว้มา
                 เชื่อมโดยเกี่ยวไว้ตัวบังคับการเลี้ยวและเฟืองบริเวณที่เจาะรูไว้
ขั้นตอนที่ 6 นำส่วนของแผงวงจรรถกระป๋องมาติดตั้งไว้บริเวณส่วนบนของเรือ แล้วนำสายไฟดึง
                 ผ่านช่องที่ได้เจาะรูไว้ เพื่อนำไปเชื่อมติดกับส่วนของมอเตอร์และตัวบังคับการเลี้ยว
ขั้นตอนที่ 7 ทำการประกอบปิดในส่วนฝาเรือและตัวลำเรือ โดยล็อคน็อตให ้เรียบร้อย จากนั้นให้
                  สังเกตดูว่ามีช่องว่างตรงจุดใดหรือเปล่าที่อาจจะทำให้น้ำสามารถผ่านเข้าตัวเครื่อง
                 ได้ หากมีต้องปิดให้สนิท

รายการอุปกรณ์

1. ส่วนบอดี้เรือ 1 ลำ
2. แผงวงจรรถกระป๋องพร้อมตัวบังคับ 1ชุด
3. ชิ้นส่วนบังคับการเลี้ยวล้อหน้าของรถกระป๋อง 1 ชุด
4. เฟือง 1 อัน
5. ลูกยางเทป 1 อัน
6. แท่งเหล็ก 1 แท่ง
7. ไส้ไก่ 1 เส้น
8. เส้นลวด 1 เส้น
9. ชุดเลื่อยฉลุ, สายไฟ, ตะกั่ว, ชุดกาวปืน

ทดลองการแล่นของเรือ และข้อเสนอแนะ

 เมื่อส่วนของตัวเรือเรียบร้อยแล้ว เพื่อน ๆ คงอยางจะนำเรือกระป๋องลำน้ำแแล่นในน้ำแล้ว ใช่มั๊ยละครับ! แต่ก่อนที่เราจะนำเรือไปแล่นบนน้ำ เราลองทดสอบการทำงานของเรือดูก่อนว่ามีประสิทธิภาพในการทำงานมากน้อยแค่ไหน
        โดยลองกดสวิตซ์ที่ใช้บังคับดูว่า เรือสามารถวิ่งได้หรือเปล่าทั้งการแล่นไปข้าง การถอยหลัง และตรวจเช็คในส่วนของหางเสือ หากกดสวิตซ์บังคับเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา แล้วดูว่าหางเสือขยับตามที่เราบังคับหรือเปล่า ถ้าขยับตาม แสดงว่าไม่มีปัญหาอะไร
        ส่วนเทคทิคและข้อเสนอแนะคือ ให้สังเกตดูเวลานำเรือวางบนน้ำลักษณะตัวเรือมีน้ำหนักสมดุลเท่ากันทั้งสองด้านหรือไม่ หากไม่สมดุลผมขอแนะนำว่า เราควรจะหาวัตถุที่มีอยู่ใกล้ตัวมาเป็นตัวถ่วงน้ำหนักโดยใส่ลงไปในตัวเรือเพื่อให้เรือเกิดการสมดุลทั้งสองด้าน (อาจจะใช้ดินน้ำมันที่เหลือจากการทำงานอื่น ๆ มาเป็นตัวถ่วงน้ำหนักเอาไว้ ก็ได้ครับ)
        สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งในส่วนของหางเสือและใบพัด ต้องมีระยะห่างที่พอดี ไม่ห่างกัน หรือชิดกันมากเกินไป แล้วเรือจะแล่นได้ดีครับและตรงบริเวณส่วนของวงจรเราอาจจะหาแผ่นพลาสติกมาปิดไว้เพื่อป้องกันน้ำครับ

เมื่อได้เรือกระป๋องที่เสร็จสำเร็จเป็นเรือที่สามารถบังคับแล้ว เล่นคนเดียวอาจจะไม่สนุก ผมขอแนะนำว่าน่าจะชวนเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ มาทำแข่งกันดูนะครับแล้วดูซิว่า! เรือของใครจะแล่นได้ดีกว่ากัน