วันอาทิตย์, 27 เมษายน 2568

การผสมแสงของ led

09 ธ.ค. 2008
10

 การที่จะให้ LED แสดงผลได้หลากหลายสีนั้น จะใช้หลักการของการผสมสีทางแสง สำหรับแม่สีที่ใช้ในการผสมสีทางแสงนั้นจะมีสามสี คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ดังนั้นในบทความนี้จะใช้ LED สามสีเป็นแม่สี หลักการในการผสมสีผมจะให้แต่ละสี มีความแตกต่างของสีอยู่ 4 ระดับ ซึ่งจะได้สีทั้งหมด 4x4x4=64 สี สำหรับตารางของค่าแต่ละสีดูได้จาก ตารางสี
วิธีการดูค่าสีในตารางสีมีดังนี้ ค่าสีในตารางเทียบค่าจะมีตัวเลขอยู่สามตัว ตัวแรกเป็นสีแดง ตัวที่สองเป็นสีเขียว ตัวที่สามเป็นสีน้ำเงิน ตัวอย่างเช่น 333 ค่าสีแดง = 3, เขียว = 3, น้ำเงิน = 3 เมื่อผสมกันแล้วจะได้เป็นสีขาว

สำหรับการผสมสีด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น จะใช้หลักการของ PWM (Pulse Width Modulation) มาใช้ในการผสมสี ค่าสีแต่ละค่าจะถูกแปลงไปเป็นความกว้าง ของ pluse เพื่อนำไปขับ LED แต่ละสี
จะพูดถึงความถี่แอลอีดี(LED)ที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้ความถี่ประมาณ 100HZ – 2KHZ
การที่เราจะปรับเพิ่มหรือลดความสว่างของแอลอีดี(LED)สามารถทำได้ คร่าวๆประมาณ 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 ใช้วิธีการปรับความสว่างแอลอีดี(LED) แบบลิเนียร์
ในการปรับความสว่าง แอลอีดี(LED)ในลักษณะนี้ใช้หลักการการปรับลดแรงดันเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ซึ่งจะเกิดผลกระทบทำให้ความสว่างของ แอลอีดี(LED) เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามแต่การใช้วิธีนี้มีข้อเสียคืออัตราการสูญเสีย หรือความร้อนที่เกิดขึ้นจะมาก
และทำให้ แอลอีดีแบบนี้อายุการใช้งานสั้นนะครับ
รูปแบบที่2 เป็นการปรับความสว่างแบบพัลวิดมอดูเลต(PWM) เป็นการปรับลดความสว่างของแอลอีดี(LED) ที่นิยมมากเพราะตัวแอลอีดีมีกำลังงานงว่าสูญเสียน้อยมากเพราะการแอลอีดีมีการกระพริบตลอดเวลา แต่การกระพริบมีความถี่สูงกว่า 50HZตาเราจึงไม่สามารถจับการกระพริบได้ การปรับลดความสว่างของแอลอีดี (LED) เราสามารถทำได้โดยปรับค่าความกว้างของดิวตี้ไซเคิล แต่ก็มีข้อเสียอยู่ในส่วนของการออกแบบวงจรค่อนข้างจะยุ่งยาก

ตารางการผสมสีทางแสง

ที่มาจากเวป http://www.avrportal.com/?lang=th&page=tiny-rgb